⏰วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายสุจินต์ วาจากิจ ปลัดจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดเพชรบุรี (คจพ.จ.) ครั้งที่ 4 / 2565 โดยมีนายธรรมนูญ ไขว้พันธ์ุ พัฒนาการจังหวัดเพชรบุรี เป็นเลขานุการ ณ ห้องประชุมศูนย์ดำรงธรรม ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2565 ตามกรอบระยะเวลา สร้างการรับรู้ (25 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม 2565) วิเคราะห์สภาพปัญหา และกำหนดแนวทางแก้ไข (16 มีนาคม –15 เมษายน 2565) จำแนกประเภทครัวเรือน โครงการ/กิจกรรม ( 16 – 25 เมษายน 2565)บูรณาการแนวทางการให้ความช่วยเหลือ (15 เมษายน 26 – 30 เมษายน 2565)ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ (1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2565) โดยทีมพี่เลี้ยงจัดเก็บข้อมูลตามแบบ ศจพ.3 โดยนำข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายจากระบบ TPMAP ปี 2565 จำนวน 3,673 ครัวเรือน ลงพื้นที่เป็นรายครัวเรือน ร่วมกับบุคคล/ครัวเรือนเป้าหมาย ในการวิเคราะห์สภาพปัญหา และร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไข ได้พบครัวเรือนตกหล่น 158 ครัวเรือน ครัวเรือนเป้าหมายที่อยู่คนเดียวและเสียชีวิต 2 ครัวเรือน ครัวเรือนเป้าหมายย้ายออกนอกพื้นที่ 28 ครัวเรือน จังหวัดเพชรบุรีคงเหลือครัวเรือนที่พบสภาพปัญหา จำนวน 3,801 ครัวเรือน ทีมพี่เลี้ยงบันทึกข้อมูลสภาพปัญหาของครัวเรือนเป้าหมายลงในระบบ TPMAP Logbook แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา
ศจพ.อ. ทั้ง 8 อำเภอ ได้จัดประชุมเพื่อบูรณาการความช่วยเหลือ โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ และภาคส่วน/ภาคีการพัฒนาต่าง ๆ นำแผนงาน โครงการ จากเมนูแก้จน มาเป็นกรอบแนวทางการให้ความช่วยเหลือ และถ้าสภาพปัญหาไม่ตรงกับเมนูแก้จน ให้หน่วยงานดำเนินการช่วยเหลือตามอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมาย จังหวัดเพชรบุรีได้มีการดำเนินงานในระดับพื้นที่ บูรณาการผ่าน 7 ภาคีเครือข่าย และใช้พลัง “บวร” ในการร่วมกันแก้ไขปัญหา บูรณาการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นของหน่วยงานภาคีและเครือข่ายที่เป็นเจ้าภาพหลักในพื้นที่ ผ่านโครงการ/กิจกรรม โดยคำนึงถึง ความอยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน เป็นการช่วยเหลือตามแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ตามกรอบระยะเวลา การดำเนินการให้ความช่วยเหลือให้ครัวเรือนเป้าหมายพ้นจน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2565 ทาง ศจพ.อ. ได้รายงานความก้าวหน้าในการลงไปช่วยเหลือครัวเป้าหมายเบื้องต้น ทั้ง 5 มิติ รวมไปถึงมิติอื่นๆ เช่น โครงการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย การมอบเครื่องอุปโภค-บริโภค การส่งเสริมอาชีพเสริมในครัวเรือน การดูแลผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ช่วยเหลือการจัดทำบัตรผู้พิการ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น เป็นการทำงานโดยใช้หลักการบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด
#WorldSoilDay
#GlobalSoilPartnership
#UNFAO
#CDD
#SEPtoSDGs
#SDGforAll@Kmitl
#กรมการพัฒนาชุมชน
#เพชรบุรีเมืองสร้างสรรค์
ภาพ/ข่าว>> กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สพจ.เพชรบุรี