⏰วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เขตตรวจราชการที่ 4 พร้อมด้วย นายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชนลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 ณ จังหวัดเพชรบุรี
ในการนี้นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ให้การต้อนรับพร้อมร่วมประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามงานตามประเด็นการตรวจราชการ ดังนี้
- การขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.)
- การเตรียมความพร้อมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุฤดูร้อน
- การเตรียมความพร้อมป้องกันและระงับอัคคีภัย
โดยผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทยได้นำข้อห่วงใยจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและปลัดกระทรวงมหาดไทยแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรับทราบในการให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ด้วยความจริงใจ โดยเน้นย้ำถึงภารกิจที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นหนึ่งในกลไกหลักในการขับเคลื่อนแก้ปัญหาความยากจน ผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาลงถึงฐานราก โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเน้นย้ำการแก้ไขปัญหาความยากจนให้เสร็จสิ้นในระดับอำเภอ ซึ่งนายอำเภอต้องมีบทบาทสำคัญในการบูรณาการส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอแก้ไขปัญหาด้วยการนำแนวทางจากเมนูแก้จน 5 ด้านจาก TPMAP ได้แก่ 1) สุขภาพ 2) ความเป็นอยู่ 3) การศึกษา 4) ด้านรายได้ 5) การเข้าถึงบริการภาครัฐ หากเป็นปัญหาแตกต่างจากแนวทางดังกล่าว ให้หน่วยงานแก้ไขตามอำนาจหน้าที่เป็นรายครัวเรือนต่อไป ทั้งนี้ ต้องแก้ปัญหาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยแบ่งเป้าหมายการแก้ไขปัญหาเป็น 3 ระดับ ได้แก่ อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน
“รหัส 5 4 3 2 1” คือแนวทางในการขับเคลื่อนภารกิจขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นายอาทร พิมชะนก ได้กล่าวกับที่ประชุมให้ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นธงนำในการดำเนินงานในพื้นที่ โดยใช้รหัส5 4 3 2 1 ดังนี้
#5 มิติ คือ มิติสุขภาพ รายได้ ความเป็นอยู่ การศึกษา การเข้าถึงบริการภาครัฐ
#4 กระบวนงาน คือ ทัศนคติ ทรัพยากร ทักษะ และทางออก
#3 เป้าหมาย คือ อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน
#2 กลยุทธ์ คือ ปัจจัยภายในครัวเรือน ชุมชนเป้าหมาย และปัจจัยภายนอก ได้แก่ความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย
#1 โครงการ คือ โครงการหรือแผนงานในพื้นที่ที่มุ่งให้การช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพิเพียง
ต่อจากคณะผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของ ศจพ.อ.เมืองเพชรบุรี พร้อมทั้งได้ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจครัวเรือนนายบุญลอ โพธิ์เอี่ยม
ม.9 ต.โพพระ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
ตกมิติรายได้ ตัวชี้วัดเรื่อง อายุ 60 ขึ้นไปไม่มีอาชีพไม่มีรายได้ และพบปัญหาด้านความเป็นอยู่ที่ไม่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะต่อบุคคลในครัวเรือนซึ่งมีทั้งเด็กและผู้สูงอายุอาศัย ตลอดทั้งมีหลาน 2 คน ของครัวเรือนเป้าหมายขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งเด็กทั้งสองคนได้รับการยืนยันจากผู้นำชุมชนว่าเป็นเด็กเรียนดีและมีพฤติกรรมที่ดี มีความกตัญญู ใฝ่ดี
โดยผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำให้กับทีมปฏิบัติการและทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่ให้จับมือประสานกลไกภาคีเครือข่ายในพื้นที่ อาทิ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด องค์กรเอกชน สมาคม มูลนิธิต่างๆ รวมทีมลงไปช่วยเหลือครัวเรือนดังกล่าว ซึ่งนายอำเภอสามารถปรับองค์ประกอบทีมพี่เลี้ยงได้ตามสภาพปัญหาและความเดือดร้อนของคนยากจนเป้าหมาย เพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา เช่น พระสงฆ์ คหบดี เกษตรกร หรือบุคคลที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ และรวบรวมทุกความเดือดร้อนของประชาชนให้ครบถ้วน
ในด้านผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชนได้กำชับให้ทีมปฏิบัติการฯ ของศจพ.อ.รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้กลไก ศจพ. และปัญหา อุปสรรค ให้ต้นสังกัดทราบทุกเดือน รวมทั้งแจ้งส่วนราชการในพื้นที่รายงานผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้ต้นสังกัดในส่วนกลางเพื่อให้รัฐแต่ละกระทรวงได้รับทราบผลการดำเนินงานของกลไกในระดับพื้นที่ อันจะทำให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศจพ.ในระดับพื้นที่เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม บรรลุเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาความยากจน แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 รวมถึงให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้ สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ทุกช่องทางในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบ TPMAP และครัวเรือนที่ตกหล่นหรือพบใหม่
#WorldSoilDay
#GlobalSoilPartnership
#UNFAO
#CDD
#SEPtoSDGs
#SDGforAll@Kmitl
#กรมการพัฒนาชุมชน
#เพชรบุรีเมืองสร้างสรรค์
ภาพ/ข่าว>> กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สพจ.เพชรบุรี